top of page
Search

รำลึกความสำเร็จขนไก่ "โธมัส -อูเบอร์คัพ"ไทย

  • Writer: SW Sport News
    SW Sport News
  • May 9, 2020
  • 2 min read

ถึงแม้ว่าจนถึงตอนนี้จะยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าการแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์โลกประเภททีมชาย -ทีมหญิง "โธมัส -อูเบอร์คัพ คาสิโน ไฟนอล 2020" ซึ่งจะแข่งขันที่ Ceres Arena ในเมืองออร์ฮูส ประเทศเดนมาร์ค ที่ได้เลื่อนจากกำหนดเดิมวันที่ 16-24 พฤษภาคม ไปเป็นวันที่ 15-23 สิงหาคม แต่ล่าสุด สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส ที่ทำให้ Covid-19 ระบาดไปทั่วโลก ทำให้โปรแกรมการแข่งขัน ยังไม่สามารถยืนยันได้ตามกำหนด

    ซึ่งในอดีตการแข่งขันประเภททีมโธมัส คัพ เป็นการแข่งขันชิงแชมป์โลกประเภททีมชาย เริ่มจัดกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ส่วนในประเภททีมหญิง อูเบอร์คัพ ค.ศ. 1957 จนกระทั่งในปีปี  ค.ศ.  1982  สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติได้เปลี่ยนแปลงการแข่งขันแบดมินตันชิงถ้วยโธมัสคัพและอูเบอร์คัพโดยรวมทั้งทีมชายและทีมหญิงดังกล่าวไปแข่งพร้อมๆ กัน ทุก  2 ปี

    สำหรับประวัติศาสตร์ของวงการแบดมินตันไทยแล้วความสำเร็จสูงสุดในประเภททีมชาย โธมัส คัพ นั้นคงต้องย้อนกลับไปนานถึง 59 ปี ค.ศ.1961(พ.ศ.2504) บรรดานักกีฬารุ่นคุณปู่ยอดฝีมือระดับโลกอย่าง ชาญณรงค์ รัตนแสงสรวง , ชวเลิศ ชุ่มคำ ,ชูชาติ วัฒนธรรม ,ณรงค์ พรฉิม , ระพี กาญจนระพี และสมสุข บุณยสุขานนท์ ช่วนกันสร้างผลงานที่ยังคงยืนหยัดมาจนถึงทุกวันนี้ด้วยการคว้ารองแชมป์โธมัส คัพ1961จาการ์ตา อินโดนีเซีย

    ซึ่งแบดมินตันโธมัส คัพ ยุคนั้นมีชาติยิ่งใหญ่มากมายในเอเชีย มี มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, อินเดีย, ปากีสถาน, สิงคโปร์ และไทย แต่ขณะนั้นไม่มีจีน (ไม่ได้เป็นสมาชิกไอบีเอฟ และระบบปกครองคอมมิวนิสต์ปิดประเทศ) นอกจากนี้ ก็มี ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อังกฤษ (ต้นตำรับแบดมินตัน), เดนมาร์ก, ไอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา  5 ทีมมหากาฬที่ฝ่าด่านคัดเลือกไปชิงแชมป์โลกในปีนั้นคือ  อินโดนีเซีย แชมป์เก่าจากปี 2501 มี ตันโจ ฮอค กับ เฟอร์รี่ ซอนเนวิล ที่กำลังดังสุดขีดในยามนั้น, ออสเตรเลีย ชนะ นิวซีแลนด์ 8-1 ได้เป็นตัวแทนโซนออสเตรเลียน ส่วนญี่ปุ่นอยู่ในโซนนี้ตกรอบเป็นสมัยที่สอง, สหรัฐอเมริกา ชนะ แคนาดา 7-2 เป็นตัวแทนทวีปอเมริกา, เดนมาร์ก ที่มี ฟินน์ คอบเบอร์โร กับ เออร์แลนด์ คอปส์ นำทัพ เป็นตัวแทนยุโรป โดยบุกไปชนะ อังกฤษ ถึงถิ่น 

    โธมัส คัพ ไทย ฐานะตัวแทนเอเชียด้วยผลงาน นัดแรกชนะ อินเดีย 6-3 ซึ่ง "นันดู นาเตก้า" สิงห์เฒ่ามือหนึ่งอินเดีย ไม่สามารถช่วยกอบกู้สถานการณ์ได้, จากนั้นไทยแปลงสนามมวยราชดำเนินเป็นสังเวียนแบดฯ ต้อนรับการมาเยือนของมาเลเซีย ซึ่งนำทีมโดย "เอ็ดดี้ จุง" ตัวเก๋ามากประสบการณ์ แต่เขาช่วยทีมได้แค่ 2 แต้ม จึงแพ้ ไทย 2-7 นัดสุดท้ายไปถล่ม ปากีสถาน คาบ้าน 8-1 ขึ้นเครื่องบินไปเมืองจาการ์ตาการที่จะต้องไปต่อสู้กับบรรดาสุดยอดฝีมือของโลกชาวอินโดนีเดซียในยุคนั้นก็ถือว่าเป็นงานที่หนักหนาสาหัสสุดๆแล้ว 

ต่สิ่งที่ 6 นักกีฬาแบดมินตันจากไทยต้องต่อสู้แบบไม่มีทางเลือกก็คิอบรรดากองเชียร์เจ้าถิ่น  รวมถึงสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่ถาโถมเข้ามาใส่ทีมนักกีฬาไทย ซึ่งแฟนๆแบดมินตันยุคเก่าๆคงจะรู้ดีถึงคำพูดที่ว่า "อิเหนาเจ้าเล่ห์" กันเป็นอย่างดี  ก่อนที่บทสรุปสุดท้ายผลการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศโธมัส คัพ1961ทีมอินโดนีเซีย เอาชนะทีมไทยไปได้ 6-3คู่ แต่นั้นก็คือประวัติศาสตร์ที่ยังคงยืนยงยาวนานของทีมแบดมินตันโธมัสคัพไทย


   ส่วนในประเภททีมหญิง อูเบอร์คัพ ที่เริ่มจัดการแข่งขันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1957 ทีมสาวไทยต้องรอคอยความสำเร็จมาอย่างยาวนานถึง 55 ปี ก่อนจะมาเริ่มทำผลงานคว้าเหรียญทองแดงได้สำเร็จในศึกอูเบอร์คัพเมื่อปี 2012 ที่เมืองหวูฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน (รอบรองชนะเลิศพ่ายให้กับทีมเต็ง 1 จีน ไป 0-3 คู่)จนกระทั่งในศึก "โธมัส-อูเบอร์คัพ 2018" ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ทีมสาวไทยสามารถสร้างประวัติศาสต์ที่รอคอยมานานถึง 61 ปี  ผ่านเข้าไปถึงในรอบชิงชนะเลิศอูเบอร์คัพ ได้สำเร็จ ตามรอยรุ่นคุณปู่ที่เคยทำผลงานคว้ารองแชมป์ โธมัสคัพ ค.ศ.1961

    ที่สำคัญที่สุดในรอบรองชนะเลิศสามารถแก้มือเอาชนะทีมแกร่งทีมจีนไปได้อย่างสนุก 3-2 คู่ โดย 3 คะแนนที่ทีมสาวไทยได้มาจากประเภทเดี่ยวทั้งหมด "เมย์" รัชนก อินทนนท์ , "แน็ต" ณิชชาอร จินดาพล  และ "ครีม" บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธุ์  สร้างประวัติศาสตร์เข้าชิงเป็นครั้งแรก 

สำหรับในรอบชิงชนะเลิศสาวไทยต้องดวลกับ ทีมเต็ง 1 ญี่ปุ่น แน่นอนแแฟนๆแบดมินตันต่างมาต่อแถวเข้าซื้อบัตรเข้าชมกันอย่างล้นหลาม และสุดท้ายบัตรเข้าชมการแข่งขันในแมตช์นี้ก็ถูกจำหน่ายหมดภายในพริบตา 12,000 ที่นั่งตามความจุของอิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี 

     บรรยากาศใน รอบชิงชนะเลิศ เรียกได้ว่าคึกคักสุดๆ มีบรรดาแฟนๆ กีฬาชาวไทยพาเหรดเข้ามาให้กำลังใจทีมแบดฯสาวไทยกันมากมายเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดมาก่อน แต่ผลการแข่งขันที่ออกมาสาว ไทย ไม่สามารถต้านทานความแข็งแกร่งของญี่ปุ่นเอาไว้ได้ พ่ายไป 0-3 คู่ คว้ารองแชมป์ไปครอง  ส่งผลให้ทีมญี่ปุ่นเดินหน้าคว้าแชมป์สมัยที่ 6 ไปครองหลังจากที่ต้องรอคอยมานานถึง 37 ปี (แชมป์ครั้งสุดท้ายค.ศ.1981)  ส่วนทีมรองแชมป์สาวไทยก็ได้ใจแฟนๆ กีฬาชาวไทยไปครอง

 สำหรับนักแบดมินตันสาวไทยชุดประวัติศาสตร์นั้น 10 นักกีฬาทีมหญิงนำทัพโดย  "เมย์" รัชนก อินทนนท์  , "แน็ต" ณิชชาอร จินดาพล  , "หมิว" พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ , "ครีม" บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธุ์ , "กิ๊ฟ" จงกลพรรณ กิติธรากุล , "วิว" รวินดา ประจงใจ  , "เบสท์" ชญานิษฐ์ ฉลาดแฉลม , "จ๋อมแจ๋ม" ผไทมาส เหมือนวงศ์ , "ปอป้อ" ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย , "เอิร์ธ" พุธิตา สุภจิรกุล 

    จากความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน "โธมัส-อูเบอร์คัพ 2018" อย่างยอดเยี่ยมในทุกๆด้านของประเทศไทยจนได้รับเสียงชื่นชมจากทางสหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF)  รวมไปถึงการทำงานอย่างหนักของ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ไอโอซีเมมเบอร์ , นายกสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ และ รองประธานสหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) ทำให้แฟนๆแบดมินตันชาวไทยจะได้กลับมาสนุก ตื่นเต้น เร้าใจ กับการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ที่ยิ่งใหญ่ระดับชิงแชมป์โลกในประเทศไทยกันอีกครั้ง เมื่อศึก "โธมัส- อูเบอร์คัพ UFA23 ไฟนอล 2022"  จะหวนกลับมาจัดการแข่งขันที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย อีกครั้ง 


 
 
 

Comentarios


Post: Blog2_Post

©2020 by Spiritwish News. Proudly created with Wix.com

bottom of page